fa-kku

กำเนิดคณะศิลปกรรมศาสตร์ มข.

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

         ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน มีพื้นที่และประชากรประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศ สิ่งสําคัญ ยิ่งคือมีศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองสืบทอดต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน ระยะเวลาที่ผ่านมาได้ มีหน่วยงานต่าง ๆ พยายามที่จะศึกษาค้นคว้าและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้ให้คงอยู่ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังไม่ มีหน่วยงานใดที่จะรับผิดชอบให้บริการทางการศึกษาและพัฒนาศิลปกรรมเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างยากจน การที่จะระดมทรัพยากรที่มี อยู่เพื่อดําเนินการทางด้านนี้ย่อมจะมีขีดจํากัด มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นสถาบันอุดมศึกษาสูงสุดของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ย่อมจําเป็นที่จะต้องมีความรับผิดชอบในด้านนี้ ซึ่งหมายถึงการจัดตั้งคณะศิลปกรรม ศาสตร์อันเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาออกไปในชนบทตามนโยบายรัฐ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว เห็นว่าภาควิชามนุษยศาสตร์มีความพร้อมในด้าน คณาจารย์อุปกรณ์การเรียน การสอนและอาคารสถานที่อยู่แล้ว ดังนั้นเพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปอย่างจริงจัง สามารถบรรลุผลได้ตามนโยบายของรัฐ จึงเห็นสมควรให้มีการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ขึ้นใน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

       คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งคณะ ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2537 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ  1. เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ให้มีความรู้ความสามารถในการที่จะออกไปทํางาน ทั้งใน ภาครัฐและเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีจิตสํานึกในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีโครงการที่จะผลิต บัณฑิตระดับหลังปริญญาที่มีความเชี่ยวชาญด้านศิลปะสากล และศิลปะประจําท้องถิ่น ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะ  2. เป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าวิจัยสากลศิลปะพื้นบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  3. เป็นศูนย์กลางเพื่อบริการทางวิชาการด้านศิลปกรรมศาสตร์สาขาต่างๆ แก่สังคมและหน่วยงาน ทั้ง ภายในประเทศและต่างประเทศ  4. ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อการอนุรักษ์ ส่งเสริม และพัฒนา ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้คงอยู่ตลอดไป บัณฑิตที่จบจากสถาบันการศึกษาแห่งนี้ นอกจากจะมีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ แล้ว ยังจะเป็นกําลังสําคัญในการอนุรักษ์ ค้นคว้า และศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมภาค ตะวันออกเฉียงเหนืออย่างลึกซึ้ง ในขณะเดียวกันสถาบันแห่งนี้จะเป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้า วิจัย ตลอดจน ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทางภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ