การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ทักษะ ศิลปะ ปรัชญา แห่งอุษาคเนย์” Philosophy and Practice of Asean Art ครั้งที่ 9

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสถาบันภาคีเครือข่ายจำนวน  29 สถาบัน จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2566 “ทักษะ ศิลปะ ปรัชญา แห่งอุษาคเนย์” Philosophy and Practice of Asean Art ครั้งที่ 9 หรือ FAR 9 ระหว่างวันที่ 1 – 2  กันยายน 2566 ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งการจัดการประชุมวิชาการอย่างต่อเนื่องมาเป็นครั้งที่ 9 ติดต่อกัน  เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนามาตรฐานการเรียนการสอนและการวิจัยทางด้านศิลปกรรม เพื่อให้นักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และผู้ที่สนใจได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ นาเสนอผลงานวิจัยที่จะพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการในศาสตร์แขนงต่างๆ รวมถึงการสร้างสรรค์ผลงานวิชาการและวิชาชีพที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต

ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 ได้มีพิธีเปิดการประชุมวิชาการฯ ณ โรงละครคณะศิลปกรรมศาสตร์ เมื่อเวลา 9.00 น. ครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นประธานในพิธีเปิดงาน จากนั้น ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้กล่าวรายงานและวัตถุประสงค์การจัดงาน ต่อด้วยการปาฐกถาพิเศษ“ทักษะ ศิลปะ ปรัชญา ในอุษาคเนย์” โดย ศาสตราจารย์ ดร.เชษฐ์  ติงสัญชลี อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร จากนั้นในภาคบ่ายได้มีการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “East Meets West Integrate Culture” โดย Dr.Stuart  Grant Senior Lecturer, Sydney Conservatorium of Music Honorary Associate, School of Literature, Arts, and Media, The University of Sydney, Australia.ผ่านระบบ VDO Conference

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล ประธานในพิธีได้กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัย การศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ และการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาภูมิภาคและความอยู่ดีมีสุขของประชาชน นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันและองค์กรต่าง ๆ เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศทางด้านการสร้างบัณฑิตที่ตอบสนองต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ อันประกอบด้วยสาขาต่าง ๆ ได้แก่ ทัศนศิลป์ ออกแบบ ดนตรี ศิลปะการแสดง และประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่มีบทบาทและความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของชาติ ตลอดจนเป็นสาขาวิชาที่มุ่งเน้นความสุนทรียะและกล่อมเกลาจิตใจให้มีความผ่องแผ้วด้วยเช่นกัน”

ผศ.ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์  ได้กล่าวว่า การจัดงานประชุมในครั้งนี้เพื่อจัดเวทีนำเสนอผลการวิจัย ผลงานวิทยานิพนธ์ ผลงานสร้างสรรค์ ของนักวิจัยนักวิชาการ คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และผู้ที่สนใจ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการวิจัย การเรียนการสอน การบริการวิชาการเพื่อชุมชน สังคม และประเทศชาติตลอดทั้งยังเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศการวิจัยและเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ การนำเสนอผลงานวิจัยที่จะพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและเป็นการสร้างนักวิจัยใหม่ทางด้านศิลปะ อีกทั้งได้รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา 29 แห่ง ประกอบไปด้วย  1. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2.คณะศิลปกรรมศาสตร์และคณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม    3.สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 4.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 5.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี              6.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร 7.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ 8.คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ 9.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ 10.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น          11.วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์            12.คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 13.คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 14.ประธานหลักสูตรสาขาการจัดการทางวัฒนธรรม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 15.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 16.คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี        17.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม              18.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด 19.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ 20.คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 21.คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม 22.สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา 23.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย 24.คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 25.สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย 26.คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 27.คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 28.คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 29.คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

และในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2566 ได้มีการนำเสนอผลงาน  ประกอบไปด้วยกลุ่มทัศนศิลป์ มีผู้ทรงคุณวุฒิประจำกลุ่มคือ ศาสตราจารย์สุชาติ  เถาทอง กลุ่มการออกแบบผู้ทรงคุณวุฒิประจำกลุ่มคือ รองศาสตราจารย์ ดร.นิรัช สุดสังข์  ,รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์  Asst.Prof. Dr.Watanapan Krutasaen, Asst.Prof. Dr. Atithep Chaetnalao กลุ่มสาขาดนตรี ผู้ทรงคุณวุฒิประจำกลุ่มคือ ศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมศักดิ์  พิกุลศรี กลุ่มสาขาการแสดง ผู้ทรงคุณวุฒิคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีรพงศ์  เสนไสย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผกามาศ จิรจารุภัทร กลุ่มสาขาวัฒนธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิคือ รศ.ดร.นิยม  วงศ์พงษ์คำ และ Dr.Bi Chuanchen, Dr.Lowell Skar

สิ่งหนึ่งที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมทั้งภาคีเครือข่ายได้มีแนวความคิดเห็นร่วมกันในการจัดเวทีนำเสนอผลงานวิชาการทางด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมขึ้นเพื่อนำเสนอผลการวิจัย ผลงานวิทยานิพนธ์ ผลงานสร้างสรรค์ ของนักวิจัยนักวิชาการ คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และผู้ที่สนใจ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการวิจัย การเรียนการสอน การบริการวิชาการเพื่อชุมชน สังคม และประเทศชาติพร้อมทั้งเสริมสร้างบรรยากาศการวิจัยและเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ การนำเสนอผลงานวิจัยที่จะพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการเพื่อสร้างนักวิจัยใหม่ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์และเป็นช่องทางในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ

 

 

Highlights