สาขาวิชาการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมสร้างประสบการณ์เรียนรู้จากพื้นที่จริงให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 2

ศึกษารูปแบบการแสดงในวิถีวัฒนธรรม ประเพณี และเทศกาล กรณีศึกษา “ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา จ.อุบลราชธานี ปีที่ 122” ในวันที่ 1-2 สิงหาคม 2566

กิจกรรมในครั้งนี้ประกอบด้วย

  1. การเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ “การแสดงในประเพณีและเทศกาลวัฒนธรรมอีสาน และการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม” วิทยาการโดย รศ.วีณา วีสเพ็ญ (ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) 2. ดร.คำล่า มุสิกา (คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี) และ 3. ดร.จักรวาล วงศ์มณี (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี)
  2. กิจกรรมเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล ณ หอศิลปวัฒนธรรม วัดสุปัฏนารามวรวิหาร โดยได้รับความเมตตาจากพระวิบูลธรรมาภรณ์ เจ้าอาวาสเมตตาบรรยายประวัติและให้เข้าชมโบราณวัตถุล้ำค่าทางประวัติศาสตร์แห่งลุ่มแม่น้ำมูล
  3. กิจกรรมเรียนรู้ชมการแสดงประกอบแสง สี เสียง “ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา”
  4. กิจกรรมเรียนรู้ชมการแสดงและวิถีวัฒนธรรม ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา “122 ปี ทวยราษฏร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา อุบลราชธานี”
  5. กิจกรรมเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรม “ธรรมมาสสิงห์เทินบุษบก” ศิลปะช่างญวนในอีสาน บ้านชีทวน ต.ชีทวน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

หลักสูตรการแสดง มข. Performance Practice KKU ฝึกให้ผู้เรียนเป็นผู้เรียนแบบ Active learner ที่พร้อมเรียนรู้ ทดลอง ค้นหาและกระโดดลงไปมีส่วนร่วมด้วยตัวเอง ทำให้ผู้เรียนได้มองเห็น “การแสดง” ที่เกิดขึ้นใกล้ตัว และรอบตัว โดยใช้กรณีศึกษาสำคัญที่จับต้องและสัมผัสได้ คือ การแสดงที่เกิดขึ้นและสัมพันธ์กับชุมชน พื้นที่ และวัฒนธรรมในประเทศไทย สามารถวิเคราะห์ สะท้อนความคิด มองเห็นความหมายและความสำคัญในมิติที่ซ่อนอยู่ได้อย่างลึกซึ้ง รู้จักเชื่อมโยงประเด็นกับตนเองและสังคมได้ นำมาสร้างสรรค์ผลงานการแสดงเป็น และสื่อสารงานกับผู้ชม ชุมชน และสังคมได้อย่างสร้างสรรค์

 

 

 

Highlights