ศึกษารูปแบบการแสดงในวิถีวัฒนธรรม ประเพณี และเทศกาล กรณีศึกษา “ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา จ.อุบลราชธานี ปีที่ 122” ในวันที่ 1-2 สิงหาคม 2566
กิจกรรมในครั้งนี้ประกอบด้วย
- การเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ “การแสดงในประเพณีและเทศกาลวัฒนธรรมอีสาน และการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม” วิทยาการโดย รศ.วีณา วีสเพ็ญ (ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) 2. ดร.คำล่า มุสิกา (คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี) และ 3. ดร.จักรวาล วงศ์มณี (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี)
- กิจกรรมเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล ณ หอศิลปวัฒนธรรม วัดสุปัฏนารามวรวิหาร โดยได้รับความเมตตาจากพระวิบูลธรรมาภรณ์ เจ้าอาวาสเมตตาบรรยายประวัติและให้เข้าชมโบราณวัตถุล้ำค่าทางประวัติศาสตร์แห่งลุ่มแม่น้ำมูล
- กิจกรรมเรียนรู้ชมการแสดงประกอบแสง สี เสียง “ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา”
- กิจกรรมเรียนรู้ชมการแสดงและวิถีวัฒนธรรม ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา “122 ปี ทวยราษฏร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา อุบลราชธานี”
- กิจกรรมเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรม “ธรรมมาสสิงห์เทินบุษบก” ศิลปะช่างญวนในอีสาน บ้านชีทวน ต.ชีทวน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
หลักสูตรการแสดง มข. Performance Practice KKU ฝึกให้ผู้เรียนเป็นผู้เรียนแบบ Active learner ที่พร้อมเรียนรู้ ทดลอง ค้นหาและกระโดดลงไปมีส่วนร่วมด้วยตัวเอง ทำให้ผู้เรียนได้มองเห็น “การแสดง” ที่เกิดขึ้นใกล้ตัว และรอบตัว โดยใช้กรณีศึกษาสำคัญที่จับต้องและสัมผัสได้ คือ การแสดงที่เกิดขึ้นและสัมพันธ์กับชุมชน พื้นที่ และวัฒนธรรมในประเทศไทย สามารถวิเคราะห์ สะท้อนความคิด มองเห็นความหมายและความสำคัญในมิติที่ซ่อนอยู่ได้อย่างลึกซึ้ง รู้จักเชื่อมโยงประเด็นกับตนเองและสังคมได้ นำมาสร้างสรรค์ผลงานการแสดงเป็น และสื่อสารงานกับผู้ชม ชุมชน และสังคมได้อย่างสร้างสรรค์