หลักสูตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สินค้าแฮนด์เมด จากวัสดุเหลือใช้ เพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สู่การสร้างอาชีพอย่างยั่งยืน

เป็นหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการ เน้นการถ่ายทอดความรู้ เทคนิค กระบวนการจัดการความรู้การสร้างงาน สร้างอาชีพ การสร้างมูลค่าการแปรรูปจากวัสดุเหลือใช้(เศษผ้า)ในรูปแบบต่างๆ เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ภายใต้โครงการ “การขยายผลเครือข่ายอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพคนพิการเพื่อการประกอบอาชีพ” โดย สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับเกียรติจาก รศ.น.สพ.ดร.ชูชาติ กมลเลิศ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ ได้กล่าวถึง คนพิการผู้ผ่านโครงการจะมีศักยภาพและมีทักษะการทำงานตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ มีความรู้ความสามารถ มีรายได้เลี้ยงตัวเอง และยังตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ SDGs 4 ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการสร้างความเท่าเทียมให้กับคนพิการเพื่อสร้างความยั่งยืน รายละเอียดของหลักสูตรสำหรับการประกอบอาชีพของคนพิการ โดย รศ.ดร.ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดหลักสูตรกระบวนการจัดการความรู้การสร้างอาชีพ และเป็นวิทยากรประจำโครงการฯ พร้อม ‘แบรนด์ฝ้ายลายสอง’และ ‘แบรนด์หัวถนนแฮนด์เมด’  ถอดบทเรียนประสบการณ์งานฝีมือสู่หลักสูตรทักษะอาชีพ  โดยมุ่งส่งเสริมศักยภาพคนพิการ ความรู้พื้นฐานทักษะงานฝีมือ ‘สีและการออกแบบ’การสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานจากวัสดุเหลือใช้ การขึ้นรูปชิ้นงานขั้นพื้นฐานแบบ การตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานแบบมืออาชีพ การออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงานผลิตภัณฑ์ใหม่สินค้าแฮนด์เมด  ที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ เช่น  พวงกุญแจสีสันปลาอีสาน กระเป๋าเอนกประสงค์  กระเป๋าสตางค์ ซองแว่นตา ในช่วงระหว่างเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม-กันยายน  พื้นที่ อบต.ทุ่งโป่ง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น พื้นที่เทศบาลเมืองศิลา จังหวัดขอนแก่น และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าในวันที่ 6 กันยายน 2567 งาน “มหกรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน” ในโครงการ KKU CSV มหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมสร้างคุณค่าสู่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2567

 

 

 

Highlights